Verb - คำกริยา
Verb เมื่อเราแบ่งตามหน้าที่สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท
1. สกรรมกริยา (Transitive Verb)
คือกริยาที่ไม่สามารถทำให้ประโยคสมบูรณ์ได้ด้วยตัวของมันเอง จำเป็นต้องมีกรรม หรือวลีอื่นมารองรับ
เช่น open, read, become, look, show, lie, cleans, give, kick และอีกเยอะแยะมากมายครับ หากยกตัวอย่างวันนี้ไม่จบบทแน่ครับ
เช่น open, read, become, look, show, lie, cleans, give, kick และอีกเยอะแยะมากมายครับ หากยกตัวอย่างวันนี้ไม่จบบทแน่ครับ
• Shall I close the window?
ผมปิดหน้าต่างได้ไหม? (ถ้ากริยา“ปิด”นี้ ไม่มีกรรมมารองรับ จะกลายเป็น ผมปิด? อ้าว! ปิดอะไรละครับ งงเลยละสิ)
• I give the gift to you.
ฉันให้ของขวัญแก่คุณ (ถ้าผมเล่าให้ฟังแค่ว่า “เมื่อวานฉันให้” คนฟังคงค้างคาใจมากนะครับว่าผมให้อะไร)
• When did you buy it?
คุณซื้อมันมาเมื่อไร? (มันในที่นี่คือสิ่งที่ผู้พูดและผู้ฟังเข้าใจกันเป็นอย่างดีว่าคืออะไร)
ผมปิดหน้าต่างได้ไหม? (ถ้ากริยา“ปิด”นี้ ไม่มีกรรมมารองรับ จะกลายเป็น ผมปิด? อ้าว! ปิดอะไรละครับ งงเลยละสิ)
• I give the gift to you.
ฉันให้ของขวัญแก่คุณ (ถ้าผมเล่าให้ฟังแค่ว่า “เมื่อวานฉันให้” คนฟังคงค้างคาใจมากนะครับว่าผมให้อะไร)
• When did you buy it?
คุณซื้อมันมาเมื่อไร? (มันในที่นี่คือสิ่งที่ผู้พูดและผู้ฟังเข้าใจกันเป็นอย่างดีว่าคืออะไร)
2. อกรรมกริยา (Intransitive Verb)
คือกริยาที่สามารถทำให้ประโยคสมบูรณ์ได้ด้วยตัวของมันเองโดยไม่ต้องมีกรรม หรือวลีอื่นมารองรับ
เช่น run, smile, cry, swim, walk, jump, stand, breathe อีกเยอะแยะมากกมายอีกเช่นกันครับ
เช่น run, smile, cry, swim, walk, jump, stand, breathe อีกเยอะแยะมากกมายอีกเช่นกันครับ
• Who comes?
ใครมาอ่ะ? (เห็นไหมครับ ว่าแค่ถามว่าใครมา เราก็สามารถเข้าใจความหมายแล้วโดยไม่จำเป็นต้องมีอะไรมารองรับ comes)
• Wow! Look over there. He is dancing.
ว้าว! ดูนั่นสิ เขากำลังเต้น (จากประโยคไม่จำเป็นต้องอธิบายถึงการเต้นเลยใช่ไหมครับ แค่บอกว่าเต้นก็เข้าใจแล้ว)
• We were very sad to hear of his death.
พวกเราเสียใจเป็นอย่างมากที่ทราบว่าเขาเสียชีวิต (ความจริงแค่บอกว่าพวกเราเสียใจ ก็ทำให้ประโยคสมบูรณ์แล้ว แต่ในตัวอย่างมีส่วนขยายที่บอกว่าทำไมพวกเราถึงเสียใจ)
ใครมาอ่ะ? (เห็นไหมครับ ว่าแค่ถามว่าใครมา เราก็สามารถเข้าใจความหมายแล้วโดยไม่จำเป็นต้องมีอะไรมารองรับ comes)
• Wow! Look over there. He is dancing.
ว้าว! ดูนั่นสิ เขากำลังเต้น (จากประโยคไม่จำเป็นต้องอธิบายถึงการเต้นเลยใช่ไหมครับ แค่บอกว่าเต้นก็เข้าใจแล้ว)
• We were very sad to hear of his death.
พวกเราเสียใจเป็นอย่างมากที่ทราบว่าเขาเสียชีวิต (ความจริงแค่บอกว่าพวกเราเสียใจ ก็ทำให้ประโยคสมบูรณ์แล้ว แต่ในตัวอย่างมีส่วนขยายที่บอกว่าทำไมพวกเราถึงเสียใจ)
3. กริยาช่วย (Auxiliary Verb หรือ Helping Verb)
คือกริยาที่มีเพื่อทำให้ประโยคถูกต้องสมบูรณ์ตามหลักภาษา (โดยส่วนมากจะเกี่ยวข้องกับเรื่อง tenses ซะมากกว่า) หรือมีเพื่อเพื่อช่วยกริยาตัวอื่นในประโยค ซึ่งสังเกตได้ว่ากริยาแท้จะสามารถอยู่ได้โดยไม่มีกริยาช่วย แต่กริยาช่วยจะไม่สามารถอยู่ได้โดยปราศจากกริยาแท้
Example | Example | |||
V. to be | is (เป็น,อยู่, คือ) | The movie is showing. | was (เป็น,อยู่, คือ) | I was late. |
am (เป็น,อยู่, คือ) | I am student. | were (เป็น,อยู่, คือ) | If I were you,I would study more. | |
are (เป็น,อยู่, คือ) | He and I are brothers. | |||
V. to do | do (ทำ) | Dothey play football ? | did (ทำ) | Did you know? |
does (ทำ) | She does her homework. | |||
V. to have | have (มี) | I have no money. | had (มี) | She had a baby. |
has (มี) | My house has two bed rooms. | |||
Modal verb | will | I will go to scool. | would (จะ) | I would go to scool. |
(จะเกิดขึ้นแน่นอน) | (เป็นรูปอนาคต) | (เป็นรูปอดีต คือเล่าถึงอดีต) | ||
can (สามารถ) | We can’t change the schedule | could (สามารถ) | I could swim | |
shall (น่าจะ) | What shall I do? | should (น่าจะ) | She should listen more. | |
may (อาจจะ) | May I help you? | might (อาจจะ) | He might be our new teacher. | |
must (ต้อง) | You must keep your room clean. | |||
ought to (ควรทำ) | You ought to have read the book. | |||
dare (กล้าที่จะ) | Dare to dream. | |||
need (ต้องการ) | There is no need for him to work. | |||
use to (เคย) | Did you use to live here? |
คำกริยา สามารถแบ่งออกได้ตามช่วงเวลาของเหตุการณ์ได้ 3 ช่วง เราเรียกว่า กริยา 3 ช่อง
– กริยาช่องที่ 1 ใช้กล่าวถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน
– กริยาช่องที่ 2 ใช้กล่าวถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอดีต
– กริยาช่องที่ 3 ใช้กล่าวเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นและจบลงไปอย่างสมบูรณ์ทั้งในปัจจุบันและอดีต (Perfect tenses) หรือ ประโยคที่ประธานเป็นผู้ถูกกระทำ (Passive Voice)
– กริยาช่องที่ 2 ใช้กล่าวถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอดีต
– กริยาช่องที่ 3 ใช้กล่าวเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นและจบลงไปอย่างสมบูรณ์ทั้งในปัจจุบันและอดีต (Perfect tenses) หรือ ประโยคที่ประธานเป็นผู้ถูกกระทำ (Passive Voice)
เนื้อหาทั้งหมดอ้างอิงจาก : http://www.dailyenglish.in.th/verb/
Comments
Post a Comment